mongmongshop

บทความ

การใช้โอโซนในทางทันตกรรม

28-08-2562 13:08:48น.

การใช้โอโซนในทางทันตกรรม


ทันตแพทย์สงคราม เวียงธีรวัฒน์


 การทำหัตถการทางทันตกรรมให้มีความปลอดเชื้อได้สูงสุด
ถือเป็นปัจจัยหลักและสำคัญที่สุด
ดังนั้นกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ให้ปราศจากเชื้อจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
  ในปัจจุบันการทำให้ปราศจากเชื้อมีหลายวิธี ที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไปในคลินิคทันตกรรม จะใช้แอลกอฮอล์
70%  ตู้อบความดันสูง
และการแช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์และเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม
ความสำเร็จของการทำหัตถการทางทันตกรรม ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะอุปกรณ์และเครื่องมือเท่านั้น
ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ น้ำที่ใช้ในระบบล้าง  เครื่องปั๊มลม และสภาพของช่องปาก
ดังนั้นหากมีวิธีการที่สามารถทำให้ปลอดเชื้อได้ในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
น่าจะส่งผลให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
อันจะเกิดประโยชน์โดยตรงต่อผู้ป่วย


เราคงต้องยอมรับว่าการทำให้ปราศจากเชื้อยังคงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ
อาทิ
บริเวณจุดต่างๆของอุปกรณ์และเครื่องมือบางชนิดไม่ได้ถูกทำให้ปลอดเชื้อได้อย่างจริงจัง
เช่น หัวกรอ  ทั้งชนิด

aerator หรือ micro-motor และ triple
syringe 
ทั้งที่จัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยและเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำหัตการแต่ละครั้ง
นอกจากนี้ จากผลรายงานการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขอเมริกา1 พบว่า
ทุกครั้งที่ใช้
triple syringe เป่าน้ำหรือลม
จะเกิดสูญญากาศภายในทำให้เกิดการดูดกลับได้เล็กน้อย และด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์เหล่านี้ที่ไม่สามารถนำเข้าตู้อบเพื่อฆ่าเชื้อได้เพราะจะทำให้เสียสภาพ
ในทางปฏิบัติเพื่อทำให้ปลอดเชื้อ คลินิคส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ แอลกอฮอล์ 70%
เช็ดทำความสะอาด แล้วพันหุ้มไว้แต่ภายนอกเท่านั้น
แม้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ได้พยายามสร้างเครื่องมือที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อ 
ในรูปสเปรย์ที่ผสมกับน้ำมันหล่อลื่นและสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ
มาจำหน่ายในท้องตลาด แต่ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากค่อนข้างยุ่งยากต่อการใช้งาน
และราคาแพงมาก


ความสะอาดของน้ำที่ใช้ในระบบล้างเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลต่อการติดเชื้อ  โดยทั่วไป จะใช้ทั้งจากน้ำประปาโดยตรง
และผ่านเครื่องกรอง
ความสะอาดของน้ำที่ใช้จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของคลอรีนเป็นหลัก
ซึ่งสามารถทำลายเชื้อทั่วไปได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น 


สำหรับระบบลม
เนื่องจากเครื่องปั๊มลมทำงานโดยการอัดอากาศรอบตัวเครื่องเข้าไปเก็บไว้ในถังที่ทำมาจากวัสดุประเภทเหล็ก  เพื่อเตรียมระบบลมไว้ใช้สำหรับเป่าลมในช่องปาก
  ความสะอาดของลมที่ได้จึงขึ้นอยู่กับอากาศที่อยู่ภายนอกบริเวณเครื่องปั๊มลม
อย่างไรก็ตาม
เครื่องปั๊มลมส่วนใหญ่มักจะถูกติดตั้งไว้ในที่ห่างไกลเพื่อลดเสียงรบกวนและมักเป็นบริเวณที่อับชื้น
ซึ่งอาจส่งผลต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราให้กับผู้ป่วย


เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า
ในช่องปากเอง ประกอบด้วยเชื้อโรคต่างๆมากมาย บางชนิดเป็นสาเหตุของโรค เช่น
โรคฟันผุ และการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน
จึงเป็นการยากสำหรับการรักษาโรคที่ต้องการให้ปลอดเชื้อในระหว่างการทำหัตถการทางทันตกรรม
เช่น การรักษาคลองรากฟัน การอุดฟัน การติดเชื้อจากการถอนฟัน การผ่าตัดภายในช่องปาก
การอักเสบจากโรคปริทันต์ 
การรักษาดังกล่าวจึงต้องอาศัยกระบวนการที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน
บางครั้งอาจต้องให้ยาต้านจุลชีพ(
Antibiotic)กับผู้ป่วย
ซึ่งอาจส่งผลต่อการดื้อยาหากมีการใช้ต่อเนื่องในระยะยาว 
ดังนั้นหากเราสามารถกำจัดเชื้อได้โดยตรงในระหว่างการทำหัตถการ
อาจช่วยลดการใช้ยาฆ่าเชื้อและลดขั้นตอนในการทำหัตถการ


การเลือกวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ
จัดเป็นความท้าทายประการหนึ่ง เนื่องจากความหลากหลายและความแตกต่างของอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำหัตถการทางทันตกรรม
ทั้งขนาด ความซับซ้อน ความคม ปริมาณ และราคา
ซึ่งนอกจากต้องคำนึงถึงการทำให้ปลอดเชื้อให้ได้ประสิทธิภาพ และ
ผลเสียที่อาจเกิดกับผู้ป่วย อันอาจเกิดจากสารตกค้างแล้ว
ยังต้องคำนึงถึงการรักษาสภาพของอุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านั้นให้คงสภาพเช่นเดิม
เช่น อุปกรณ์มีคม
  และอุปกรณ์ที่มียางเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น
รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงการจัดการสำรองอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็น
ให้มีปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอต่อการทำหัตถการอย่างต่อเนื่องทันต่อการใช้งาน
โดยไม่ลดอายุการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีราคาแพง


เป็นที่น่ายินดี
ที่โอโซนซึ่งเป็นสารจากธรรมชาติ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อได้ครอบคลุมทั้งไวรัส
แบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา และสปอร์
ออกฤทธิ์โดยเป็นตัวออกซิไดซ์ในการทำปฏิกิริยากับเชื้อ อีกทั้งไม่มีสารตกค้าง
ทำให้ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง 
ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมทางด้านอาหาร การเกษตร2-10 ตลอดจน
วงการแพทย์ ที่มีการประยุกต์ใช้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย อาทิเช่น
การนำโอโซนไปใช้ในการอบห้องผ่าตัดและเครื่องมือเพื่อกำจัดเชื้อ หรือ การนำเอาโอโซนเจือจางในน้ำ
แล้วสอดสายยางเข้าทางทวารหนัก
เพื่อให้ลำไส้ดูดซึมเอาโอโซนเข้าไปช่วยสลายสารพิษและฆ่าไวรัสในตับ
ของแพทย์ในประเทศเยอรมัน15 เป็นต้น 
ดังนั้น การนำโอโซนมาประยุกต์ใช้ในการทำหัตถการทางทันตกรรม
น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ


                โอโซนประกอบด้วยออกซิเจน
3 อะตอม(
O3)
ที่มีอยู่ในธรรมชาติเกิดจากการแปรรูปของอะตอมออกซิเจนภายใต้ความกดดันสูง เช่น
ฟ้าผ่า เป็นต้น ส่วนใหญ่อยู่ทั่วไปในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่กรองรังสีต่างๆ
ให้กับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก
 
โอโซนในชั้นของบรรยากาศเป็นก๊าซสีน้ำเงินอ่อน มีกลิ่นฉุนจัดถึงแม้จะมีปริมาณเพียงน้อยก็ตาม
(มากกว่า 0.005
ppm.) และในปริมาณที่มากพอจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ
มีความสามารถในการทำลายเชื้อได้อย่างรวดเร็วที่ครอบคลุมทั้ง ไวรัส แบคทีเรีย
เชื้อรา ยีสต์ และสปอร์ โอโซนสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและอากาศกลายเป็นน้ำหรืออากาศผสมโอโซนและเนื่องจากเป็นก๊าซที่ไม่คงที่จึงค่อยๆสลายตัวได้ออกซิเจน
ทำให้ไม่เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตราย จากคุณสมบัติทางเคมีข้างต้น
สามารถนำประโยชน์ของโอโซนไปใช้ได้อย่างกว้างขวางทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิเช่น
กำจัดเชื้อโรคในน้ำและอากาศ กำจัดกลิ่น และทำน้ำให้บริสุทธิ์ เป็นต้น 


ในทางทันตกรรม
ได้มีการประยุกต์ใช้
High Voltage ผลิตโอโซนขึ้นจากอากาศ
ให้อยู่ในรูปของน้ำผสมโอโซนและอากาศผสมโอโซน เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก
และเนื่องจาก ความสามารถในการทำลายเชื้อ
มีความสัมพันธ์กับความเข้นข้นของโอโซนซึ่งมีหน่วยวัด เป็น
ppm.(Part per
million) (1 ppm. หมายถึง 1 อะตอม ต่ออากาศ
หรือน้ำ 1 ล้านโมเลกุล)
ในการผลิตจึงต้องควบคุมปริมาณโอโซนให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการทำลายเชื้อ วิธีการนำมาใช้ทำโดยนำน้ำผสมโอโซนและอากาศผสมโอโซนที่ได้มาใช้แทนน้ำและลมธรรมดาผ่านอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นในการทำหัตถการ
ผลที่ได้สามารถใช้ช่วยเตรียมช่องปาก ฟัน คลองรากฟันให้ปลอดเชื้อก่อน หรือ ระหว่าง
ทำหัตถการด้านทันตกรรม และสามารถนำใช้ในการทำความสะอาดอุปกรณ์ สำลี ผ้าก๊อซ
เครื่องมือทันตกรรม ให้ปราศจากเชื้อ
เพื่อช่วยปิดจุดอ่อนในการควบคุมการทำให้ปลอดเชื้อของอุปกรณ์และเครื่องมือได้อีกด้วย   


โอโซนเป็นสารธรรมชาติ
มีการยอมรับในเรื่องการกำจัดเชื้อได้ครอบคลุม11-14
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
ไม่มีสารตกค้างที่ก่อให้เกิดผลเสีย ไม่ทำอันตรายต่อร่างกายหากใช้ถูกวิธี
ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเพราะผลจากการสลายตัวได้ออกซิเจนซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพน้ำ5  นอกจากนี้
ยังได้รับการประยุกต์เครื่องมือขึ้นมาใช้ก่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน  คุณสมบัติและประโยชน์ดังกล่าว สอดคล้องกับวิธีการที่สามารถทำให้ปลอดเชื้อได้ในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 
โอโซนจึงนับเป็นทางเลือกใหม่ของการทำให้ปลอดเชื้อในวงการทันตกรรม


 


หนังสืออ้างอิง


1.      
ADA
Statement on Backflow Prevention and the Dental Office:
www.ada.org/prof/resources/topics/cdcสืบค้นใน
www.google.com


2.       Chen,
H. H., E. M. Chiu., and J. R. Huang (1997). Color and Gel Forming Properties of
Horse Mackerel(Trachurus japonicus) as Related to Washing conditions. J


3.        Food Sci. 62 : 985 – 991


4.       Dew,
T. L. (2005). Ozone Degradation of Off – Flavors in Catfish. A Thesis Submitted
to the Graduate Faculty of The Louisiana State University and Agricultural and
Mechanical College. In The Department of Food Science, 69 p


5.       Gottschalk,
J. A. Libra, and Saupe (2000). Ozonation of Water and Waste Water. Weinheim.
New York, 189 p


6.       Graham,
D. M. (1997). Use of Ozone for Food Processing. Food Technology, 51(6) ; 72 –
75.

Hoige, 1982


7.       Jieng,
Shan – Tzang, H.O. Ming – Lang, Sheng – H. O. Jiang , and Hsing - Chen Chen
(1998). Purified NADPH – Sulfite Reductase from Saccharomyces cerevisiae
Effects on Quality of Ozoned Mackerel Surimi. J. Food Sci. 63 (5) : 777 – 781.


8.       Kaminski,
J. C., and P. W. Prendiville . (1996). Milwaukee,s Ozone Upgrade, Civil
Engineering,

September : 62 – 67.


9.       Kim,
J. G., Yousef, A. E. , and S. Daves (1999). Application of Ozone for Enhancing
the Microbiological Safety and Quality of Foods. Journal of Food Protection. 62
: 1071 – 1087.


10.    Martin,
J. F., L. W. Bennett, and W. H. Graham (1988). Off – Flavor in the Channel
Catfish (Icatlurus punctatus) due to 2 – methylisoborneol and its Dehydration
Products. Water Sci. Technol. 29 (8/9) : 65 – 99.


11.    Mudd,
J. B., L. Leavith, A. Ongun, and T. T. McManas (1989). Reaction of Ozone with
Amino Acid and Protein. Atoms Environ. 23 : 669 – 674.

Rip, 1984


12.   
Tomiyasu,
H. H., Fukutomi, and G. Godon. (1985). Kinetics and Mechanisms of Ozone
Decomposition in Basic Aqueous Solutions. Inorganic Chem. 24 : 2962 – 2985.

http://www.ozoneapplications.com/info/cd_vs_uv.htm)
(2008) สืบค้นใน www.google.com


http://www.ozonesolutions.com/Ozone_Formation.html
(2008) สืบค้นใน www.google.com

http://www.ozone.meteo.be/meteo/view/en
... 6-Formatio
(2008) สืบค้นใน www.google.com

www.silvermedicine.org (2008) สืบค้นใน www.google.com


13.   
www.textbookofbacteriology.netสืบค้นใน www.google.com


14.   
www.hopkins-aids.edu/pathogen/bacteria/pseudomonas_aeruginosaสืบค้นใน www.google.com


15.   นพ.บรรจบ
ชุณหสวัสดิกุลมโอโซนและออกซิเจนบำบัด-ในดีมีร้าย ในร้ายมีดี
, บทความจากมติชน, ฉบับที่ 1453 วันที่ 20 มิ.ย. 51


                  ข้อมูลจาก www.thaidentoz.com